สารบาญตามตัวอักษร A B C D E F G H I J K L M N O P Q R S T U V W X Y Z # Morse code
ที่มา SearchNetworking.com
Morse code (รหัสมอร์ส) เป็นวิธีการส่งข่าวสารข้อความโดยการป้อนอนุกรมของพัลส์ (pulse) อิเลคโทรนิคส์ ตามปกตินำเสนอเป็นพัลส์สั้น (เรียกว่า “dot” หรือ “จุด”) และพัลส์ยาว (“dash” หรือ “เส้น”) รหัสได้รับการพัฒนาโดย Samuel F. B. Morse ในทศวรรษ 1840 เพื่อทำงานกับสิ่งประดิษฐ์ของเขา คือ โทรเลข ที่ประดิษฐ์ขึ้นครั้งแรกเพื่อใช้ประโยชน์จากวิทยาการแม่เหล็กไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิผลสำหรับการสื่อสารทางไกล ระยะแรก ผู้ส่งจะกดแป้นลงและขึ้นเพื่อตัวอักษรที่ผู้รับสามารถอ่านจากเทป (ต่อมา ผู้ปฏิบัติงานเรียนการอ่านจากการส่งผ่านโดยการฟัง) โดยผู้ส่งมักจะเป็นผู้อยู่ที่สถานีรถไฟ ซึ่งเชื่อมต่อกับแห่งอื่นด้วยสายโทรเลข ในเวอร์ชันเริ่มแรก กดแป้นลงแยกด้วยการหยุด (ปล่อยแป้นขึ้น) จากตัวอักษรต่อไปคือ “dot” (หรือเสียง “dit”) และกดแป้นลงสองครั้งอย่างรวดเร็วให้เป็น “dash” (เสียง “dah” หรือ “dit-dit”) แต่ตัวอักษรข้อความเป็นการนำเสนอโดย dot, dash และการผสม
ในปลายศตวรรษ 1800 เทคโนโลยีแป้นพิมพ์ใหม่ได้แพร่หลาย ที่มีการแตกต่างในการนำเสนอจาก dot และ dash ที่ใช้กับตัวอักษร และรู้จักในชื่อ International Morse Code หรือ Continental Code อย่างไรก็ตาม American Morse code ยังคงใช้ในสหรัฐจนถึงทศวรรษ 1960
มีเรื่องราวหลากหลายเกี่ยวกับจุดเริ่มต้นการพัฒนา Morse code มีเรื่องเล่าว่า Samuel Morse ไปที่ร้านเครื่องพิมพ์ดีด แล้วนับจำนวนรวมของตัวพิมพ์ที่เครื่องพิมพ์ดีดมีสำหรับอักษรแต่ละตัว จากนั้นเขาแปลการนับนี้ด้วยการประเมินความถี่ของการพิมพ์ตัวอักษรภาษาอังกฤษ เขาจัดระเบียบ Morse code ดังนั้นสัญลักษณ์สั้นเกี่ยวพันกับความถี่ของตัวอักษร ตัวอย่าง E และ T มีใช้มากในภาษาอังกฤษ ได้รับการนำเสนอเป็น dot เดียวและ dash เดียว ตัวอักษรความถี่การปรากฎต่ำ เช่น J และ Y และเครื่องหมายวรรคตอนนำเสนอยาวกว่าและซับซ้อนกว่า ไม่มีความแตกต่างในการใช้ตัวพิมพ์ใหญ่และตัวพิมพ์เล็ก
Morse code ช้าแต่วิธีการน่าเชื่อถือสำหรับการส่งและรับข่าวสารข้อความไร้สาย ตลอดจนเงื่อนไขเกี่ยวกับเสียง เลือนราง และการรบกวน นี่เป็นส่วนสำคัญเพราะรหัสไบนารี (กดแป้นลงและขึ้น) ยอมรับได้ในการแถบความกว้างแคบอย่างมาก นอกจากนี้ หูและสมองของคนเป็นอุปกรณ์รับดิจิตอลที่ดี ทุกวันนี้ Morse code มีการใช้จำกัดผู้ปฏิบัติงานด้านวิทยุสมัครเล่น ผู้ส่งโทรเลขผ่านสาย และผู้ปฏิบัติงานวิทยุทหาร
ศัพท์เกี่ยวข้องamateur radio, telegraphupdate: 14 มกราคม 2548
|
|