สารบาญตามตัวอักษร A B C D E F G H I J K L M N O P Q R S T U V W X Y Z # radar
ที่มา SearchMobileComputing.com
radar (เรดาร์) เป็นคำย่อของ “radio detection and ranging” ตามปกติ ระบบเรดาร์ปฏิบัติงานในช่วง ultra-high-frequency (UHF) หรือ ส่วนไมโครเวฟ (microwave) ของสเปคทรัมความถี่วิทยุ (RF) และใช้การสืบค้นตำแหน่งและ/หรือการเคลื่อนที่ของวัตถุ เรดาร์สามารถสืบค้นระบบพายุ เพราะการรวมตัวของไอน้ำสะท้อนสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่ความถี่แน่นอน เรดาร์สามารถเสนอแผนที่แม่นยำ ระบบเรดาร์ได้รับการใช้อย่างกว้างขวางในการควบคุมการจราจรทางอากาศ การนำร่องเครื่องบิน และการนำร่องเรือ
เรดาร์กำลังสูง ที่ใช้จานขนาดใหญ่ สามารถวัดระยะจากโลกกับดวงจันทร์ ดาวเคราะห์อื่นๆ และดาวเทียม จากยานอวกาศไร้คนขับ เรดาร์ได้รับการใช้ทำแผนที่ดาวศุกร์ ซึ่งพื้นผิวถูกปกคลุมโดยชั้นเมฆหนาที่ความยาวคลื่นมองเห็นได้ NASA (U.S. National Aeronautics and Space Administration) ใช้เรดาร์แผนที่ภูมิประเทศรายละเอียดสูงของพื้นผิวโลก
ระบบเรดาร์ส่วนใหญ่กำหนดตำแหน่งเป็นสองมิติคือ มุมอะซิมุท (Azimuth คือมุมที่ใช้บอกตำแหน่งของพิกัดบนท้องฟ้า เช่น บอกตำแหน่งของดาวเทียมวงโคจรค้างฟ้า) และรัศมี (ระยะทาง) การแสดงผลเป็น พิกัดเชิงขั้ว (polar coordinate) เสาอากาศส่งพัลส์ RF ที่กำหนดช่วง ความล่าช้าระหว่างพัลส์ที่ส่งไปและสะท้อนกลับ หรือพัลส์ส่งกลับหาตำแหน่งรัศมีของจุดสำหรับมุมอะซิมุทแต่ละทิศทางบนจอภาพ การสะท้อนล่าช้ามากจากวัตถุในอวกาศ ย่อมห่างจากศูนย์กลางการแสดงผล ช่วงมากที่สุดของระบบเรดาร์ UHF หรือไมโครเวฟ ขึ้นกับความสูงของเสาอากาศเหนือระดับพื้นดินเฉลี่ย พื้นผิวทางภูมิศาสตร์ในภูมิภาคนั้น สภาพบรรยากาศในภูมิภาคนั้น และในบางกรณีระดับสัญญาณวิทยุรบกวน
เรดาร์เป็นที่รู้โดยทั่วไปสำหรับการใช้ตามการบังคับใช้กฎหมายในการหาความเร็วของรถยนต์ เรดาร์ประเภทนี้ไม่แสดงตำแหน่งแน่ชัดของวัตถุ แต่หาทิศทางความเร็วเชิงรัศมีจาก Doppler effect ตัวสืบค้นเรดาร์ ซึ่งประกอบด้วยผู้รับบอร์ดแบนด์ UHF /ไมโครเวฟ ที่สามารถใช้ในรถหรือรถบรรทุกเพื่อเตือนคนขับในการปรากฏของเรดาร์ตำรวจ ตัวสืบค้นเรดาร์ผิดกฎหมายในบางรัฐของสหรัฐ
Weather Service ใช้เรดาร์ที่เรียกว่า Doppler radar เพื่อหาตำแหน่งและการขยายตัวของระบบพายุ รูปแบบลมและความเร็ว Doppler radar เป็นการผสมเรดาร์หาตำแหน่งและหาความเร็ว จึงทำให้แน่ใจว่าตำแหน่งและความหนาแน่นของพายุฝนฟ้าคะนอง เฮอริเคน และทอร์นาโด
มีการใช้เรดาร์บนแถบวิทยุความถี่สูง (high-frequency หรือ HF) ระหว่าง 5 MHz ถึง 20 MHz ในความพยายามเตือนภัยล่วงหน้าจากการโจมตีนิวเคลียร์ด้วยขีปนาวุธ ชั้นอิออนโนสเฟียร์สะท้อนคลื่น HF ที่ยอมให้ช่วงของระบบกว้างกว่าเรดาร์ที่ความถี่ UHF หรือไมโครเวฟ ระหว่างทศวรรษ 1970 ถึงต้นทศวรรษ 1980 สัญญาณจากระบบนี้กลายเป็นเรื่องอื้อฉาว เพราะมีสัญญาณแทรก วิทยุอาสาสมัคร (radio amateur) ประดิษฐ์คำว่า woodpecker เพื่ออธิบายเสียงจาก HF บนพัลส์เรดาร์แนวราบในตัวรับการสื่อสาร
ศัพท์เกี่ยวข้องelectromagnetic fieldupdate: 21 สิงหาคม 2543
|
|