สารบาญตามตัวอักษร A B C D E F G H I J K L M N O P Q R S T U V W X Y Z # transistor
ที่มา
transistor (ทรานซิสเตอร์) ประดิษฐ์โดยนักวิทยาศาสตร์ 3 คน ใน Bell Laboratories ในปี 1947 ได้เข้าแทนที่ หลอดสูญญากาศในฐานะ ตัวควบคุมสัญญาณอิเลคโทนิกส์ ทรานซิสเตอร์ควบคุมกระแส หรือความต่างศักย์และทำหน้าที่เหมือน สวิท์ชหรือ gate สำหรับสัญญาณอีเลคโทนิคส์ ทรานซิสเตอร์ประกอบด้วย 3 ชั้น ของวัตถุกึ่งตัวนำ แต่ละชั้นสามารถนำกระแสไฟฟ้า สารกึ่งตัวนำเป็นวัสดุ เช่น เยอรมันเนียม และซิลิคอน ที่การนำไฟฟ้าเป็นแบบ "semi-enthusiastic" ซึ่งมีลักษณะระหว่างตัวนำแท้ เช่น ทองแดง กับฉนวน เช่น พลาสติก
วัสดุกึ่งตัวนำมีคุณสมบัติพิเศษ โดยกระบวนการทางเคมีเรียกว่า doping โดยผลลัพธ์ของ doping ในวัสดุที่เป็น ทั้งการเพิ่มอิเล็กตรอนพิเศษให้กับวัสดุ (ซึ่งเรียกว่า N-type สำหรับการเพิ่มประจุลบให้ตัวนำ) หรือ สร้าง "โพรง" ในวัสดุโครงสร้างผนึก (ซึ่งเรียกว่า p-type เพราะมีผลเป็นการเพิ่มประจุบวกให้ตัวนำ) ทรานซิสเตอร์โครงสร้าง 3 ชั้น ประกอบด้วย ชั้นวัสดุกึ่งตัวนำ N-type อยู่ระหว่าง ชั้น P-type (PNP) หรือ ชั้น P-type 1 ชั้น อยู่ระหว่างชั้น N-type (NPN)
เมื่อกระแสหรือความต่างศักย์เปลี่ยนใน 1 ชั้นของชั้นนอกวัสดุกึ่งตัวนำ จะมีผลกระทบต่อกระแส หรือความต่างศักย์อย่างมากกับชั้นใน 1 ชั้น มีผลในการเปิดหรือปิด gate ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ ใช้วงจรทำด้วยเทคโนโลยี Complementary Metal Oxide Semiconductor (CMOS) ซึ่ง COMS ใช้ทรานซิสเตอร์คู่ต่อ gate (ตัวหนึ่งคือ N-type อีกตัวหนึ่งคือ p-type) เมื่อทรานซิสเตอร์ตัวหนึ่งดำรงสถานะทางตรรกะจะมีความต้องการทั้งหมดไม่มีพลังงาน
ทรานซิสเตอร์เป็นส่วนประกอบพื้นฐานในวงจรรวม (Integrated Circuit หรือ IC) ซึ่งประกอบด้วยทรานซิสเตอร์จำนวนมาก ที่ต่อเชื่อมภายในเป็นวงจร และเป็นไมโครชิป หรือชิป ชิ้นเดียว ศัพท์เกี่ยวข้องCMOS, microchipupdate: 15 ตุลาคม 2545
|
|