IT A-Z

เข้าสู่ระบบ

สารบาญตามตัวอักษร

A B C D E F G H I J K L M N O P Q R S T U V W X Y Z #

Temporal Key Integrity Protocol

ที่มา SearchMobileComputing.com

  :   ผู้ชม 12804

TKIP (Temporal Key Integrity Protocol) เป็นโปรโตคอลเข้ารหัสแบบ encrypt ที่รวมเป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐาน IEEE 802.11i สำหรับเครือข่ายท้องถิ่นไร้สาย (WLAN) โปรโตคอลนี้ได้รับการออกแบบให้เข้ารหัสมากกว่า Wired Equivalent Privacy (WEP) ที่มีชื่อเสียงด้านความอ่อนแอ ซึ่งเป็นโปรโตคอลความปลอดภัย WLAN เริ่มแรก TKIP เป็นวิธีการรหัสที่ใช้ใน Wi-Fi Protected Access (WPA) ซึ่งมาแทนที่ WEP ในผลิตภัณฑ์ WLAN ต่างๆ TKIP เป็นชุดของอัลกอริทึมที่ทำงานเป็น “ตัวห่อหุ้ม” WEP ที่ยอมให้ผู้ใช้อุปกรณ์ WLAN รุ่นเก่าอัพเกรดเป็น TKIP โดยไม่ต้องเปลี่ยนฮาร์ดแวร์ใหม่ TKIP ใช้โปรแกรม WEP ดั้งเดิม แต่ “ห่อหุ้ม” ด้วยคำสั่งเพิ่มเติมที่จุดเริ่มต้นและปลายเพื่อการห่อหุ้มและปรับปรุง TKIP เหมือนกับ WEP คือใช้อัลกอริทึมเข้ารหัส RC4 stream encryption เป็นพื้นฐาน อย่างไรก็ตาม โปรโตคอลใหม่เข้ารหัสแพคเกตข้อมูลด้วย encryption key เอกลักษณ์ และคีย์เหล่านี้เข้มแข็งกว่า WEP ในการเพิ่มความเข้มแข็งของคีย์ TKIP มีสี่อัลกอริทึมเพิ่มเติม

- การตรวจสอบบูรณาการข่าวสารของ cryptographic เพื่อป้องกันแพคเกต
- กลไกอนุกรม initialization-vector ที่รวมการแฮช (hashing) ซึ่งตรงข้ามกับการส่งผ่านข้อความธรรมดาของ WEP
- ฟังก์ชัน per-packet key-mixing เพื่อเพิ่มความเข้มแข็งของ cryptographic
- กลไกการสร้างคีย์ใหม่ที่ให้สร้างคีย์ทุกๆ 10,000 แพคเกต

ขณะที่ TKIP เป็นประโยชน์สำหรับการยกระดับความปลอดภัยบนอุปกรณ์ดั้งเดิมที่ติดตั้งด้วย WEP แต่โปรโตคอลนี้ไม่สามารถแก้ไขประเด็นความปลอดภัยทั้งหมดที่เผชิญหน้า WLAN และไม่น่าเชื่อถือหรือมีประสิทธิภาพเพียงพอสำหรับการส่งผ่านข้อมูลอ่อนไหวของบริษัทและรัฐบาล มาตรฐาน 802.11i ระบุให้ Advanced Encryption Standard (AES) เพิ่มจาก TKIP อีกมาตรฐาน AES เสนอระดับความปลอดภัยสูงกว่าและได้รับการอนุมัติสำหรับการใช้งานของรัฐบาล แต่ต้องการยกระดับฮาร์ดแวร์สำหรับการทำให้เป็นผลสำเร็จ เมื่อองค์กรต่างๆ เปลี่ยนอุปกรณ์ไร้สายรุ่นเก่าแล้ว คาดว่า AES จะได้รับการยอมรับเป็นมาตรฐานเข้ารหัสสำหรับความปลอดภัย WLAN

ศัพท์เกี่ยวข้อง

algorithm, encryption, IEEE, packet, key, cryptography, WLAN, WEP, WPA, 802.11i

update: 1 มีนาคม 2549

IT A-Z ปรับปรุงล่าสุด
abacus
zero-day exploit
MPP (massively parallel processing)
message queueing
medium
semaphore
master/slave
MAC address (Media Access Control address)
mash-up
vlog
LANDesk Client Manager
laptop computer
linkrot
Itanium
Job Entry Subsystem (JES)
IP telephony (Internet Protocol telephony)
Kerberos
iterative
interoperability
interface definition language (IDL)

Loading
Microsoft Access
Access
ไชยวัฒน์ ตระการรัตน์สันติ สั่งซื้อผ่าน PayPal ในราคา 280 บาท
อุ้มผาง เบื้องหลังธรรมชาติ
Umphang
รู้จักอุ้มผางในอีกแง่มุม โดย ประชา แม่จัน
สั่งซื้อผ่าน PayPal ในราคา 90 บาท
สงวนลิขสิทธิ์ (C) widebase