IT A - Z

Home

IT A - Z
Knowledge Developer Database Internet Resource Forum
 

สารบัญตามตัวอักษร

A B C D E F G H I J K L M N O P Q R S T U V W X Y Z #
 
 

IP address (Internet Protocol address)

ที่มา SearchWinDevelopment.com

( คำจำกัดความนี้ใช้ตาม IPV4)

IP ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เป็น IP address แบบ 32 บิต เพื่อระบุข้อมูลของผู้ส่งและผู้รับ ในการส่งชุดข้อมูลผ่านระบบอินเตอร์เน็ต เมื่อมีการเรียกเพจ HTML หรือส่งอีเมล์ ส่วน IP address เป็นการระบุโดเมนใน URL ตามที่มีการขอหรือตามที่อยู่ของอีเมล์ (e-mail address) ที่ปลายทาง ผู้รับสามารถเห็น IP address ของเว็บเพจ หรือผู้ส่งอีเมล์และตอบสนองโดยส่งข้อความโดยการใช้ IP address ที่ได้รับ

IP address มี 2 ส่วน: การเจาะจงเครือข่ายในระบบอินเตอร์เน็ตและการเจาะจงอุปกรณ์ที่ใช้ ( เช่น เป็น เครื่องแม่ข่าย หรือเครื่องลูกข่าย ) ในระบบอินเตอร์เน็ต ระหว่างการส่งชุดข้อมูลบนเส้นทางนั้นจะเพิ่มเฉพาะส่วนการระบุเครือข่าย

ส่วนเครือข่ายของ IP address
ในระบบอินเตอร์เน็ต เป็นการติดต่อระหว่างเครือข่ายอิสระ ดังนั้น IP เป็นกลุ่มพื้นฐานของกฎ ระเบียบ สำหรับการติดต่อของเครือข่ายหนึ่งกับเครือข่ายอื่น แต่ละเครือข่ายต้องรู้จักที่อยู่ของตัวเองบนอินเตอร์เน็ตและเครือข่ายอื่น ที่มีการติดต่อ ส่วนของอินเตอร์เน็ต ต้องขอหมายเลขเครือข่าย (Network Number) จาก Network Information Center (NIC) หมายเลขเครือข่ายนี้จะถูกส่งไปพร้อมกับชุดข้อมูลของ IP จากเครือข่ายเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ต

ส่วนของ Local หรือ Host ของ IP address
ส่งข้อมูลนอกจากต้องทราบหมายเลขเครือข่ายแล้ว ต้องรู้ว่าเครื่องใดในระบบเครือข่ายเป็นผู้รับหรือส่งข้อความ ดังนั้น IP address ต้องการหมายเลขเครือข่ายและหมายเลข Host ( ซึ่งต้องไม่ซ้ำกับเครื่องอื่นภายในเครือข่าย ) บางครั้ง หมายเลขโฮสต์ เรียกว่า หมายเลข เครื่อง ส่วนของ Local address สามารถระบุเป็น Subnetwork (Subnet) ซึ่งทำให้ง่ายสำหรับกรณีที่เครือข่ายมีการแบ่งเป็นเครือข่ายย่อย ๆ

ขั้นของ IP address และรูปแบบ
เนื่องจากระบบเครือข่ายมีขนาดหลากหลาย จึงมีกำหนดรูปแบบ TCO address เป็น 4 รูปแบบ หรืออื่น เมื่อมีการขอหมายเลขเครือข่ายจาก NIC

  • Class A : เป็น address สำหรับเครือข่ายขนาดใหญ่
  • Class B : เป็น address สำหรับเครือข่ายขนาดกลาง
  • Class C : เป็น address สำหรับเครื่องข่ายขนาดเล็ก ( น้อยกว่า 256 เครื่อง)
  • Class D : เป็น address สำหรับ Multicast
บิตชุดแรกของ IP address เป็นการชี้ชั้นของ address ซึ่งมีโครงสร้างของ address ในลักษณะ ดังนี้

Class A
0 เครือข่าย (7 บิต ) local address (24 บิต )
Class B
10 เครือข่าย (14 บิต ) local address (16 บิต )
Class C
110 เครือข่าย ( 21 บิต ) local address (8 บิต )
Class D
1110 Multicast address (28 บิต )

IP address มักจะใช้ทศนิยม 4 ตำแหน่ง แสดงเป็น 8 บิต แบ่งเป็นช่วง บางครั้งเรียกว่า dot address หรือคำเป็นภาษาเทคนิค เรียกว่า dotted quad notation สำหรับรูปแบบ IP address แบบ Class A มีรูปแบบ “network.local.local.local.” แบบ Class C มีรูปแบบ “network.network.network.local” เลขลำดับของ IP address สามารถแสดงด้วยชื่อ เรียกว่า domain name จำนวน Address ของเครือข่ายที่เป็นไปได้ของแบบแผนตาม IP เวอร์ชัน 4 ( ยังเป็นเวอร์ชันที่มีการติดตั้งอย่างกว้างขวาง ) ใกล้ที่จะหมดแล้ว ( อย่างน้อยที่สุดสำหรับ Class C) อย่างไรก็ตาม IP เวอร์ชันใหม่ (IPV6) ไปขยายขนาดของ IP address เป็น 128 บิต ซึ่งเหมาะสมกับการขยายตัวของ network address สำหรับ host ยังใช้ IPV4 ในส่วน subnet การใช้ Host address ด้วย IPV4 จะช่วยลดการประยุกต์สำหรับหมายเลขเครือข่ายไบต์โดยทั่วไปยังคงใช้ IPV4 แบบ Class C

ความสัมพันธ์ระหว่าง IP address กับ ที่อยู่ทางกายภาค
เครื่อง (หรือที่อยู่ทางกายภาค) ใช้ที่ภายในเครือข่ายแบบ LAN มีความแตกต่างจาก IP Address บนอินเตอร์เน็ต ส่วนใหญ่จะเป็น Ethernet address 48 บิต ซึ่ง TCP/IP มีสิ่งอำนวยความสะดวกเรียกว่า Address Resolution Protocol (ARP) ซึ่งให้ผู้บริหารระบบสร้างตารางการจับคู่ IP address เป็นที่อยู่ทางกายภาค ตารางนี้เรียกว่า ARP Cache

Static versus Dynamic IP address
IP address แบบ Dynamic เป็นให้ IP address จากพูลเป็นการประหยัด จำนวน IP address โดยการใช้ IP address ร่วมในเครือข่ายที่มีผู้ใช้จำนวนมาก เช่น บริษัทขนาดใหญ่หรือธุรกิจบริการแบบ online การให้ IP address แบบนี้ เป็นการให้ IP address ตามการติดต่อการระบบ ทำให้ใช้ IP address น้อยกว่าการใช้แบบ static

 

 
 

ศัพท์เกี่ยวข้อง

IPv6, CIDR, Internet Protocol, TCP/IP, domain name, URL, router, subnet, Ethernet, ARP

update: 15 มกราคม 2545