Widebase Book Shop |
Book Shop |
|
|
อุ้มผาง เบื้องหลังธรรมชาติอุ้มผางเป็นแหล่งเที่ยวทางธรรมชาติที่มีชื่อเสียง เช่น น้ำตกทีลอชู แต่อุ้มผางมีเรื่องเล่าที่น่าสนใจมากมาย
สั่งซื้อทางไปรษณีย์ราคาพิเศษ 80 บาท (ส่วนลด 11%) รวมค่าส่ง การชำระเงิน โอนเงิน ธนาณัติ สั่งซื้อผ่าน PayPalราคาเล่มละ 80 บาท สารบัญ
คำนำอุ้มผางเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่มีชื่อเสียง เช่น น้ำตกทีลอชู แต่ที่นี่ยังมีวิถีชีวิตชาวปกากะญอแบบดั้งเดิมที่นับถือ "ฤาษี" ดำรงอยู่เพียงแต่การท่องเที่ยวในเชิงวัฒนธรรมเพื่อทำความรู้จักกับวิถีชีวิต ความเชื่อ วัฒนธรรม และประเพณีของพวกเขามีน้อยมาก นอกจากนี้อุ้มผางมีความเป็นมาที่น่าสนใจ ผ่านตำนานท้องถิ่น นอกจากความแตกต่างของภาษาแล้ว วิถีชีวิตของเขาดูเหมือนมีความคล้ายชาวไทยตามในอดีต น่าจะเป็นโอกาสอันดีที่จะเรียนรู้วิถีชีวิตของพวกเขาเพื่อมองย้อนกลับไปยังสังคมไทยในอดีต ในโอกาสนี้ ประชา แม่จัน นักเขียนประจำนิตยสารรายเดือน สยามปริทัศน์ได้นำเรื่องราวที่น่าสนใจของอุ้มผางจากการเล่าเรื่องของผู้อาวุโสชาวปกากะญอในตำบลแม่จันมานำเสนอให้ท่าน หวังว่าการเยือนอุ้มผางนอกจากได้สัมผัสกับธรรมชาติอันสวยงามแล้ว ท่านจะได้รับรู้จักกับอุ้มผางในแง่มุมอื่น สำนักพิมพ์ widebase
อุ้มผางหากย้อนหลังไปสักยี่สิบปีที่แล้ว ถ้าพูดถึงอุ้มผางคนจำนวนไม่น้อยอาจจะหาตำแหน่งของอุ้มผางในแผนที่ไม่พบ ทั้งที่เป็นอำเภอที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ ปัจจุบันคนส่วนใหญ่รู้จักอุ้มผางด้วยชื่อเสียงของป่าเขาลำเนาไพร แหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติ หลายคนตั้งใจว่าต้องไปให้ถึงน้ำตกทีลอชูสักครั้งในชีวิต เมื่อรู้จักอุ้มผางในลักษณะนี้แล้ว ควรจะทำความรู้จักอุ้มผางเพิ่มเติมถึงความเป็นมา รวมทั้งเป็นโอกาสอันดีในการรู้จักกับเจ้าของถิ่น ผู้ดูแลให้ป่าเขาที่นี่ให้ยืนยงมาจนถึงทุกวันนี้ รู้จักอุ้มผาง อุ้มผางเป็นส่วนหนึ่งของทุ่งใหญ่นเรศวร ชาวโพล่ว เรียกทุ่งใหญ่ว่า เวียจ่าที่ ชื่อนี้ แปลว่า ที่อยู่อันสว่างไสว ลุงเนเต๊อะ บ้านกรูโบ หมู่ 8 ตำบลแม่จัน เล่าให้ฟังว่า "ตำนานของเพอะเจะ (คนไทยเรียกว่า ฤาษี 1 ) บอกไว้ว่าหลังพุทธศาสนาผ่านมา 2500 ปี คนจะกลายมาร เมืองจะกลายเป็นป่า และป่าจะกลายเป็นเมือง" คำบอกเล่านี้อาจจะนำไปขยายความหมายของชื่อทุ่งใหญ่ในภาษาโพล่วได้ อุ้มผางเป็นเมืองโดดเดี่ยวที่ปิดล้อมด้วยเทือกเขาสูง 2 ด้านและทุ่งหญ้ากว้าง จึงเป็นทางตันด้วยปราการทางธรรมชาติ เมื่อย้อนอดีตอุ้มผาง ที่นี่จึงไม่ได้เป็นเส้นทางการค้า หรือบทบาททางประวัติศ าสตร์โดยตรง แต่เมื่อข้ามเขาก่องก๊องไปฝั่งกาญจนบุรีจะไม่ห่างจากด่านเจดีย์ 3 องค์ ซึ่งเป็นเส้นทางเคลื่อนพลของไทยและพม่าในอดีต ในประวัติศาสตร์โดยตรงที่รับทราบอาจจะมีความเกี่ยวข้องส่วนบ้าง เช่น สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ตามการเล่าของพะหม่อลา บ้านกุยเคลอะ หมู่ 6 ตำบลแม่จัน ในสมัยที่อาศัยอยู่ที่บ้านเซ่ปะละ ตำบลแม่ละมุ้ง บอกว่าเคยเห็นเครื่องบิน 2 ฝ่ายยิงต่อสู้กัน และเห็นซากเครื่องบินญี่ปุ่นตก มีผึ้งทำรังที่เครื่องยนต์ ทุ่งหญ้าบริเวณนั้นได้ชื่อว่า "กะบอหล่อเต่ปรอ" หรือทุ่งเครื่องบินตก พบหมวกนักบินในถ้ำแถวนั้น ก่อนหน้าปี 2513 อุ้มผางแทบจะไม่เป็นที่รับรู้ จนมาถึงช่วงสงครามประชาชน ชื่อของอุ้มผางจึงได้รับการกล่าวถึงในฐานะดินแดนอันโดดเดี่ยวและอันตราย ชาวปกากะญอในอุ้มผางส่วนมากได้เข้าร่วมกับฝ่ายพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย จนกระทั่ง ปี 2519 ภายหลังเหตุการณ์ 6 ตุลา นักศึกษาได้เข้ามาที่จำนวนหนึ่ง รวมถึงเสกสรร ประเสริฐกุล และจีรนันท์ พิตรปรีชา บ้านแม่จันทะ ตำบลแม่จัน เป็นที่ตั้งองค์กรนำจังหวัดตาก ของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ได้เป็นฉากหนึ่งในหนังสือ " คนล่าจันทร์ " และสร้างเป็นภาพยนต์ชื่อ " 14 ตุลา สงครามประชาชน " ปัจจุบันคนรู้จักอุ้มผางในฐานะแหล่งทางธรรมชาติ น้ำตกทีหล่อชูที่โด่งดัง บึงลากะโตที่เริ่มมีผู้กล่าวถึง บึงแฝดทีโพจิ ฤาษีไล่ตังคุ ในเรื่องนี้ดูเหมือนว่าความรู้จักเป็นเรื่องของความแปลกใหม่ แต่ความพยายามเข้าใจยังมีไม่มากนัก เช่น การกล่าวถึงฤาษี ในบางเว็บพูดถึงการแต่งกายที่แตกต่าง ไม่ใส่ชั้นใน เป็นต้น ชาติพันธ์ในอุ้มผาง ในอุ้มผาง ประกอบด้วย 4 ชาติพันธ์ คือ ไทย ม้ง ปกากะญอ และโพล่ว ปัจจุบัน ปกากะญอ เรียกว่า กะเหรี่ยงดอย ส่วน โพล่ว เรียกว่า กะเหรี่ยงน้ำ ไทย อาศัยอยู่ในราบหุบเขาอุ้มผางในตำบลอุ้มผาง แม่กลองใหม่ และหนองหลวง ม้ง อาศัยอยู่ที่บ้านแม่ก่องม้ง หรือบ้านแม่กลองใหญ่ในปัจจุบัน อีกส่วนอาศัยอยู่บริเวณบ้านทุ่งนาน้อย ตำบลแม่ละมุ้ง ตะวันออกเฉียงใต้ของอำเภออุ้มผาง ปัจจุบันถูกอพยพไปอยู่ที่อำเภอพบพระ คำว่า ม้ง แปลว่า " คน " ปกากะญอ เป็นคนส่วนใหญ่และดั้งเดิมของที่นี่ ตั้งถิ่นฐานตั้งแต่ บ้านหม่องคั๋วะ ขึ้นมาทางเหนือ ปกากะญอ แปลว่า " คน " คำเรียกชาติพันธ์ตัวเองคือ จึอก่อ โพล่ว เป็นคนดั้งเดิม ตั้งถิ่นฐานตั้งแต่บ้านหม่องคั๋วะลงไปทางใต้ โพล่ว แปลว่า " คน " คำเรียกชาติพันธ์ตัวเองคือ ฉู ปกากะญอและโพล่วตั้งถิ่นฐานที่นี่มากกว่า 200 ปี สองชาติพันธ์นี้ใกล้เคียงกันมาก วิถีชีวิต ความเชื่อ ประเพณี และวัฒนธรรมมีจุดร่วมกันเป็นส่วนใหญ่ การแต่งกาย ภาษา และรายละเอียดการปฏิบัติต่างกันเล็กน้อย ในตำนานของเขาบอกว่าพวกเขาเป็นพี่น้องกัน รวมถึงตอซู (ต้องสู้) หรือปะโอ ในภาคเหนือเรียก ปกากะญอ ว่า "ยาง" เป็นคำเรียกที่พวกเขาโดยเฉพาะทางเหนือขึ้นไปในแม่ฮ่องสอนและเชียงใหม่ไม่ชอบ ในขณะที่คำว่า "กะเหรี่ยง" ยอมรับได้ เดิมปกากะญอและโพล่วในแถบนี้นับถือเพอเจะ ประมาณปี 2535 เกิดความขัดแย้งระหว่างชาวโพล่วแม่จันทะกับเจ้าหน้าที่จนถึงขั้นปะทะกันด้วยความรุนแรง หลังจากนั้นจึงมีการตั้งสำนักสงฆ์ในหลายหมู่บ้าน ความหมายของชื่อ "อุ้มผาง"ที่มาของชื่อ "อุ้มผาง" ของราชการกล่าวว่ามาจากคำว่า "อุ้มผะ" ที่เป็นคำเรียกกระบอกไม้ไผ่สำหรับเก็บเอกสารเดินทางในภาษาปกากะญอ แล้วกร่อนมาเป็นคำว่า "อุ้มผาง" ในขณะที่ ชาวปกากะญอหลายคนบอกว่ามาจากคำว่า "อูกึผะ" แปลว่า ไฟจะไหม้ไปทั่ว โดยได้อธิบายความหมายว่า สิ่งที่จะเกิดขึ้นก็ต้องเกิดและขยายไปทั่วไป ชาวปกากะญอและโพล่วบอกว่าพวกเขาได้อาศัยอยู่ที่นี่มาช้านาน มีตำนานเล่าว่าบ้านไล่ตังคุที่เป็นศูนย์กลางของผู้นับถือ "เพอเจะ" (ฤาษี) ตั้งขึ้นในวันเดียวกับวันตั้งเมืองกรุงเทพฯ ดังนั้นพวกเขาต้องอาศัยมานานกว่า 200 ปี ตำนานที่น่าสนใจของพื้นที่คือ เคยเป็นเส้นทางถอยของกษัตริย์มอญลงมาทางใต้โดยการเดินผ่านบ้านเปิ่งเคลิ่ง มาตามห้วยกูเปอตีจนบรรจบแม่น้ำแม่จัน แล้วตามแม่น้ำไปถึงสบแม่น้ำแม่จัน (ปัจจุบันคือบ้านแม่จันทะ) จึงเดินตัดข้ามเขาก่องก๊องข้ามไปยังสังขละบุรี ในช่วงนี้พระอุปราชมอญได้สิ้นพระชนม์บนยอดเขานี้ บนเขามีต้นชงโคขนาดใหญ่หลายต้นและเป็นจุดชมวิวที่มองเห็นบริเวณสบแม่จันกับแม่กลอง ลุงเนเต๊อะ ชาวโพล่ว บ้านกรูโบ อธิบายคำว่า "แม่จัน" มาจากภาษามอญ "แม๋จัน" เมะ แปลว่า วังน้ำ จัน แปลว่า แปด และ "แม่กลอง" มาจากภาษามอญเช่นกัน "แม๋กอง" กอง แปลว่า ร้อย ดังนั้นคำว่า "กองจัน" แปลว่า ร้อยแปด และ "รูตกองจัน" หมายถึง พระพุทธรูป 108 องค์ |
ผู้เขียน ประชา แม่จัน |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||