PHP: PHP Hypertext Preprocessor

Home

PHP Tutorial
Knowledge Developer Database Internet Resource
เริ่มต้นด้วย PHP
1. การใช้ PHP Tag
2. ตัวอย่างโปรแกรมประยุกต์ ร้านพูนพนา
3. การเพิ่มเนื้อหาแบบไดนามิคส์
4. การทำงานกับฟอร์ม
5. ฟังก์ชันที่มีประโยชน์
 
PHP เบื้องต้น
1. เริ่มต้นด้วย PHP
2. ภาษา PHP
3. การทำงานไฟล์ และไดเรคทอรี
4. การทำงานกับ Array
5. การควบคุมข้อความ และนิพจน์ปกติี่
6. คำสั่งใช้ใหม่และฟังก์ชัน
7. Object Oriented Programming
 
PHP
PHP เบื้องต้น
การสร้างโปรแกรมประยุกต์เว็บ
PHP ระดับสูง
 
Internet
PHP
SSI
HTML
AJAX
 
PHP เบื้องต้น > เริ่มต้นด้วย PHP

ตัวอย่างโปรแกรมประยุกต์ ร้านพูนพนา

โปรแกรมประยุกต์เว็บด้านแม่ข่ายส่วนมากคือ การประมวลผลฟอร์ม HTML การเริ่มต้นเรียน PHP โดยการใช้ฟอร์มใบสั่งของร้านพูนพนา

ใบสั่งซื้อ

ใบสั่งซื้อในภาพ 1.1 เป็นใบสั่งซื้อง่าย ๆ เหมือนกับใบสั่งซื้อที่พบได้บนอินเตอร์เน็ต สิ่งแรกคือ ต้องการทราบการสั่งซื้อของลูกค้า หาผลรวมของการสั่งซื้อ และภาษีขายของใบสั่งซื้อ ให้เพิ่มคำสั่งตามรายการที่ 1.1 ต่อท้าย


ภาพ 1.1.1 ใบสั่งซื้อพูนพนา บันทึกเฉพาะรายการสินค้าและจำนวน

รายการคำสั่ง 1.1.1 ส่วนของฟอร์มใน orderform.html

 

<form action="processorder.php" method=get>
<table border=0>
<tr bgcolor=#cccccc>
<td width=150>ชื่อ</td>
<td width=15><input name="name" type="text" size="30" maxlength="30"></td>
</tr>
<tr bgcolor=#cccccc>
<td width=150>รายการ</td>
<td width=15>จำนวน</td>
</tr>
<tr>
<td>สบู่</td>
<td align=center><input type="text" name="soapqty" size=3 maxlength=3></td>
</tr>
<tr>
<td>แชมพู</td>
<td align=center><input type="text" name="shampooqty" size=3 maxlength=3></td>
</tr>
<tr>
<td>ครีมนวดผม</td>
<td align=center><input type="text" name="conditionerqty" size=3 maxlength=3></td>
</tr>
<tr>
<td colspan=2 align=center><input type=submit value="สั่งซื้อ"></td>
</tr>
</table>
</form> 

ส่วนของฟอร์ม HTML ในรายการคำสั่ง 1.1.1 มีข้อสังเกตสำคัญ 2 ประการ

ข้อสังเกตแรก คือ  มีการตั้งค่า  action ของฟอร์มเป็นชื่อสคริปต์ PHP ที่จะประมวลผลใบสั่งซื้อ โดยทั่วไปค่าของคุณลักษณะ action คือ URL ที่จะได้รับการโหลด เมื่อผู้ใช้กดปุ่ม submit ข้อมูลลูกค้าที่ป้อนไว้ในฟอร์มจะส่งไปยัง URL นี้ ผ่านวิธีตามการระบุในคุณลักษณะ method เป็น GET (เพิ่มต่อท้าย URL) หรือ  POST (ส่งแยกแพคเก็ต)

ข้อสังเกตที่ 2 คือ ชื่อฟิลด์ของฟอร์ม soapqty, shampooqty และ conditionerqty ชื่อเหล่านี้ได้รับการใช้ในสคริปต์ PHP ด้วยสาเหตุนี้ การตั้งชื่อฟิลด์ของฟอร์มให้มีความหมายเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อทำให้จำได้ง่ายเมื่อเริ่มต้นเขียนคำสั่ง PHP


  

สงวนลิขสิทธิ์ (C) widebase / Julaphak