สารบาญตามตัวอักษร A B C D E F G H I J K L M N O P Q R S T U V W X Y Z # volt
ที่มา SearchCIO-Midmarket.com
volt (โวลต์ สัญลักษณ์ V) เป็นหน่วยความต่างศักย์ทางไฟฟ้าหรือแรงทางไฟฟ้าของ Standard International (SI) ความต่างศักย์หนึ่งโวลต์ปรากฏผ่านความต้านทานหนึ่งโอห์ม เมื่อกระแสไฟฟ้าหนึ่งแอมแปร์ไหลผ่านความต้านทานนั้น เมื่อทำเป็นหน่วยฐาน SI, 1 V = 1 kg คูณ m^2 ต่อ s^-3 ต่อ A^-1 (หนึ่งกิโลกรัมคูณตารางเมตรต่อวินาทียกกำลังสามต่อแอมแปร์)
ความต่างศักย์ (Voltage) สามารถแสดงออกเป็นค่าเฉลี่ยตามช่วงเวลาที่ให้ เมื่อค่าฉับพลันในการเคลื่อนไหวเฉพาะในช่วงเวลา หรือค่า effective หรือ root-mean-square (rms) ค่าเฉลี่ยและความต่างศักย์ฉับพลันได้รับการกำหนดเป็นขั้วคือ ขั้วบวกหรือขั้วลบ กับค่าศูนย์หรือพื้นดินเพื่ออ้างอิงความต่างศักย์ rms voltage เป็นปริมาณไม่มีมิติ จะนำเสนอเป็นเลขจำนวนจริงไม่เป็นลบ
แหล่งกำเนิดสม่ำเสมอของความต่างศักย์ไฟฟ้ากระแสตรง (DC) เช่น สังกะสี-คาร์บอน หรือ เซลไฟฟ้าเคมีอัลคาไลน์ ค่าเฉลี่ยและความต่างศักย์ฉับพลันประมาณ +1.5 V ถ้าขั้วลบได้รับการพิจารณาเป็นดิน (ground) ร่วม rms voltage คือ 1.5 V สำหรับไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ค่าความต่างศักย์เฉลี่ยคือศูนย์ (มีการสลับขั้วตลอดเวลา) ช่วงความต่างศักย์ฉับพลันอยู่ระหว่าง -165 V ถึง +165 V และ rms voltage คือ 117 V
บางครั้ง ความต่างศักย์แสดงออกในหน่วยกำลังคูณสิบ (10 multiples) หรือเศษส่วนของหนึ่งโวลต์ หนึ่งกิโลโวลต์ (kV) เท่ากับหนึ่งพันโวลต์ (1 kV = 10^3) หนึ่งเมกะโวลต์ (MV) เท่ากับหนึ่งล้านโวลต์ (1 MV = 10^6 V) หนึ่งมิลลิโวลต์ (mV) เท่ากับหนึ่งส่วนพันของโวลต์ (1 mV = 10^-3) หนึ่งไมโครโวลต์ (µV) เท่ากับหนึ่งส่วนล้านโวลต์ (1 µV = 10^-6 V)
ศัพท์เกี่ยวข้องcurrent, AC, voltage, ampere, polarityupdate: 1 กันยายน 2548
|
|