Microsoft Access

Home

Microsoft Access Tutorial
Knowledge Developer Database Internet Resource
คิวรี่
คิวรี่และเครื่องมือในคิวรี่
การสร้างคิวรี่
การประยุกต์ Criteria
 
Access Tutorial
การออกแบบฐานข้อมูล
การสร้างฐานข้อมูล
Table
คิวรี่
ฟอร์ม
รายงาน
มาโคร
โปรแกรม Access
แนะนำ VBA
เมนูคำสั่ง Tools
คุณสมบัติฟิลด์
 
Microsoft Access
Access Tutorial
Access 2007
Access Sample
 
Developer
Visual Basic
Microsoft Access
Microsoft Excel
 

คิวรี่ (Query)

คิวรี่ (Query) เป็นอ๊อบเจคที่สำคัญมากในการประมวลผลและแสดงผล เนื่องจาก Table มีหน้าที่เก็บข้อมูล แต่ไม่มีเครื่องมือในการประมวลผล ดังนั้น การวิเคราะห์ การคำนวณ ต้องใช้คิวรี่ในการทำงาน และมีหน้าที่สำคัญ คือ

  • คัดเลือกเฉพาะข้อมูลที่ต้องการ โดยกำหนด Expression หรือค่าที่ต้องการที่ Criteria
  • แสดงกลุ่มข้อมูลที่ต้องการ สร้างคิวรี่จากหลาย Table โดยใช้การเชื่อมฟิลด์
  • ใช้ในการคำนวณใช้คำสั่ง Totals, ฟังก์ชัน และ Expression ของคิวรี่

เครื่องมือในคิวรี่

  1. Totals เป็นฟังก์ชันการประมวลผลทางคณิตศาสตร์และสถิติพื้นฐาน
  2. Sort ใช้การเรียงลำดับข้อมูล
      1) Ascending เรียงจากน้อยไปหามาก
      2) Descending เรียงจากมากไปหาน้อย
      3) Not Sort ยกเลิกการเรียง
  3. Expression Builder
      1) Function
        1.1 Built-in function: เป็นฟังก์ชันที่ติดมากับ Access
        1.2 Module: เป็นฟังก์ชันที่เขียนด้วย Visual Basic ขึ้นมาใช้งานเอง
      2) Constant เป็นค่าพิเศษที่ใช้ในการควบคุมฟิลด์ เช่น Null, True
      3) Operator
        3.1 Arithmetic คือ เครื่องหมายบวก ลบ คูณ เป็นต้น
        3.2 Comparison คือ เครื่องหมายเปรียบเทียบ เช่น มากกว่า น้อยกว่า
        3.3 Logical คือ คำสั่งทางด้านตรรกศาสตร์ เช่น AND, OR
    1. 4) Common Expression เป็นคำสั่งทั่วๆ ไป เช่น เลขหน้ากระดาษ ชื่อ

ประเภทของคิวรี่

1. Select Query เป็นคิวรี่สร้างขึ้นมาจาก Table เดียวหรือหลาย Table เพื่อแสดงข้อมูลที่ต้องการ

2. Crosstab Query เป็นคิวรี่ที่แสดงข้อมูล 2 มิติ คือ เป็นการแสดงข้อมูลตามความสัมพันธ์ในแนวคอลัมน์กับแถว เช่น ยอดขายแต่ละเดือนของสินค้าแต่ละตัว ในลักษณะเดียวกันโปรแกรม Excel

3. Action Query

1) Make - Table Query เป็นคิวรี่ที่สร้างขึ้นมาแล้วจะส่งข้อมูลที่มีอยู่เป็น Table ใหม่ โดยจะนำเอาคุณสมบัติของฟิลด์ไปด้วย
2) Update Query เป็นคิวรี่ที่จะปรับข้อมูลฟิลด์ครั้งเดียวพร้อมกันทุกเรคคอร์ด
3) Append Query เป็นคิวรี่ที่จะเลือกข้อมูลตามที่ต้องการไปต่อท้ายใน Table ที่มีอยู่
4) Delete Query เป็นคิวรี่ที่จะทำหน้าที่ลบเรคคอร์ดตามเงื่อนไขที่กำหนด

4. SQL Specific เป็นคิวรี่ที่ต้องสร้างโดยเขียนด้วยคำสั่ง SQL

1) Union Query เป็นการแสดงข้อมูลของฟิลด์จากหลาย Table มาอยู่คอลัมน์เดียวกัน
2) Pass - Through Query เป็นการแสดงค่าคิวรี่ให้ภาษา SQL เพื่อส่งไปยังฐานข้อมูลแบบ SQL
3) Data-Definition Query เป็นคำสั่ง SQL เพื่อการลบ การสร้าง Table

 

  

สงวนลิขสิทธิ์ (C) widebase